วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บทที่ 10การจัดการงานอาชีพ



การจัดการงานอาชีพ


🍉การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม
🌸ความสำคัญของการจัดการ
กระบวนการทำงานหรือการจัดการมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อ ความสำเร็จที่จะทำให้เกิดผลกำไรและช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้กระบวนการจัดการยังเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากแต่ละ องค์กรมีปัจจัยความสำเร็จที่แตกต่างกัน
🌸งานอาชีพ 
หมายถึง งานที่ทําประจําเป็นอาชีพ ทําให้เกิดรายได้สําหรับเลี้ยงตนเองและครอบครัวการ ทํางานอาชีพทั้งนอกบ้านและในบ้านจึงเกี่ยวข้องกันและเกิดปลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวันหลายประการ

   🍒กระบวนการการจัดการ(Management  process) ผู้บริหารธุรกิจมีหน้าที่ในเรื่องของการจัดการกระบวนการการจัดการประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน  คือ

    👉1.การวางแผน (Planning) เป็นกิจกรรมอันดับแรกที่สำคัญของผู้บริหารที่จะต้องมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เตรียมการไว้ล่วงหน้า เช่น มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะขยายกิจการลงทุนสร้างโรงงานใหม่ เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม
    👉2.การจัดองค์การ(Organizing) เพื่อให้เป้าหมายของธุรกิจที่วางแผนไว้ล่วงหน้าประสบผลสำเร็จ ผู้บริหารจะมีการจัดโครงสร้างองค์การมีการแบ่งงาน มอบหมายงาน จัดพนักงานในการปฏิบัติงานต่าง ๆในตำแหน่งต่างๆขององค์การเพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    👉3.การนำ (Leading) หมายถึง การสั่งการ การชี้แนะ ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานตามคำสั่ง หรือคำชี้แนะของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ขององค์การดังนั้นภาวะผู้นำการจูงใจการติดต่อสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง
   👉4.การควบคุม (Controlling) เป็นกิจกรรมขั้นสุดท้ายของกระบวนการบริหารเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลปัจจุบันเกณฑ์การประเมินผลที่ธุรกิจใช้กันมากก็คือการใช้ Benchmark กับกิจการคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  📕ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารจะต้องเสาะแสวงหากดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าในองค์การจูงใจรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ให้อยู่กับองค์กรนานๆ โดยพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
ความสำเร็จของการทำงานคือการวางแผนงาน
กระบวนการวางแผน
    👉การวางแผนเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหาร  และเป็นกระบวนการท่ามีลักษณะของความเป็นศาสตร์”และความเป็น “ศิลป์”ผู้ที่บริหารพึงต้องมีความเข้าใจและมีทักษะมีความชำนาญในการนำไปใช้จึงจะทำให้การบริหารงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงที่กล่าวว่าการวางแผนเป็นศาสตร์เพราะการวางแผนมีองค์ความรู้เป็นการเฉพาะผู้ที่บริหารและนักวางแผนจะต้องเรียนรู้ส่วนการวางแผนเป็นศิลป์เพราะการวางแผนเมื่อกำหนดขึ้นแล้วการนำไปปฏิบัติหรือนำไปใช้นั้นผู้บริหารจะต้องใช้เทคนิควิธีการต่างๆอย่างมากเพื่อผลักดันให้ทรัพยากรทุกชนิดที่ต้องใช้ในแผนได้ทำงานตามหน้าที่ของมันและในขณะเดียวกันผู้บริหารหรือผู้ใช้แผนจะต้องผสมผสานปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้แผนทั้งแผนหรือโดยส่วนใหญ่ของแผนสามารถดำเนินการได้โดยจะต้องพยายามปรับแผนและสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกันตลอดเวลา
     👉การวางแผนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับปัจจุบันและอนาคต กล่าวถือ  ผลที่ปรากฏในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากวางแผนในอดีต และผลที่จะปรากฏในอนาคตนั้นสืบเนื่องไปจากแผนที่ได้กระทำในปัจจุบันี่ดีในอดีต เช่น ครูล้นงานเพราะผลิตครูออมามากเกินความจำเป็น ทั้ง ๆ ที่อัตราการเกิดของเด็กลดลงหรือบัณฑิตต้องตกงานเพราะแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและกำลังคนไม่เป็นไปตามเป้าหมายอย่างแท้จริงหรือกรุงเทพ ฯ ต้องประสบกับมลภาวะเป็นพิษ เป็นต้น
   ❤ความสำเร็จใดๆจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า  “ทรัพยากร” (Resources)  ซึ่งหมายถึง เงิน (Mony) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) กำลังคน  (Humanpower)  เวลา (Time)  พลังงาน (Energy) และอื่น ๆ บุคคลหรือองค์การจะไม่สามารถกระทำสิ่งใด ๆ  ได้สำเร็จ หรือบรรลุถึงวัตถุประสงค์ถ้าปราศจากการใช้จ่ายทรัพยากร  การวางแผนเป็นการตัดสินใจเพื่อการจัดสรรทรัพยากรขององค์การ  ให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 
    💡การวางแผนเป็น “กระบวนการ”  (Procss) ซึ่งปรากฏด้วยกิจกรรม (Activity) ที่จะต้องกระทำกันอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับให้เข้าได้กับข้อมูลที่ได้รับทั้งที่เป็นข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback) และข้อมูลที่มาจากกระบวนการและระบบอื่น  การวางแผนสำหรับองค์หนึ่งองค์กรใดมิใช่การะทำเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดหรือเลิกแล้วกันไป แต่เป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในองค์การ  และบางส่วนของแผนอาจจะต้องมีการทบทวนใหม่ถ้าผลที่เกิดขึ้นขาดความสมบูรณ์หรือเป็นผลที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดคิดไว้
    📌การวางแผนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใส่ข้อมูล (Inputs) ทรัพยากร (Resiurces) และข่าวสาร(Information)ต่างๆเข้าไปและมีตัวการ (Processor) กระทำกับทรัพยากรและข้อมูลเหล่านั้น และปรากฏเป็นผล (Outputs)ออกมาในลักษณะต่าง ๆ ข้อมูลอันเกิดจากผลหรือที่เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ (Feedbadk) จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Standards)ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ (Objiectives)  หรือไม่  ถ้าการเปรียบเทียบมีผลเป็นที่ไม่พอใจข้อมูลที่ใส่เข้าไปและตัวการในการกระทำข้อมูลจะต้องได้รับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ดังแผนภูมิ
   📌กระบวนการวางแผนเป็นเรื่องการตัดสินใจบ่างสรรทรัพยากรหลายชนิดในปัจจุบัน  เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การประสบกับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในอนาคตหรือการวางแผนเป็นกระบวนการกำหนดทางเลือกในการดำเนินงานในอนาคต  เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์การโดยวิธีการที่ให้ผลเป็นไปตามมาตฐาน  หรือใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างเหมาะและเพียงพอรวมทั้งระบุถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรที่จำเป็นเหล่านั้นด้วย
💣องค์ประกอบของการวางแผน
       โดยความหมายหรือคำจัดความของการวาแผน  จะสังเกตได้ว่าการวางแผนมีส่วนประกอบที่ได้รับการแจงโดยนัยไว้อย่างชัดเจน เช่น  ระบุถึงวิธีการดำเนินงานในการใช้ทรัพยากรการเลือกแนวทางเพื่อการปฏิบัติงาน  และการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนเป็นต้น
      💲การวางแผนที่ดีนั้น  จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจนและมีความต่อเนื่องกันเป็นลำดับ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามแผนได้โดยง่าย  แอคคอฟฟ์  (Rusell L. Ackiff) จำแนกองค์ประกอบของแผนและการวางแผนไว้ดังนี้
     📒 จุดหมาย (Ends) เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงวัตถุประสงค์  ความมุ่งหวัง  หรือจุดมุ่งหมายของแผนที่ได้กำหนดขึ้น  โดยอาจชี้สภาพปัญหาหรือความเป็นมาหรือภูมิหลังที่ต้องทำให้มีการวางแผน  และรวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการวางแผนนั้น
     📕 วิธีการ (Means) เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์  แล้วกำหนดเป็นทางเลือกไว้หลายทางเลือก  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุถึงจุดหมาย  ที่ได้กำหนดไว้แล้วเป็นองค์ประกอบแรก
     📒 ทรัพยากร (Resources) เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงประเภท  ปริมาณ  และคุณภาพของทรัพยากรเช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะต้องจัดสรรให้กับวิธีกรหรือทางเลือกที่ได้กำหนดไว้
     📕 การนำแผนไปใช้ (Implementation )  เป็นองค์ประกอบที่ระบถึงวิธีการหรือการตัดสินใจเพื่อเลือกเลือกทางเลือกหรือแนวทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนและวัตถุประสงค์ของแผนซึ่งได้กำหนดไว้ทางเลือกในการดำเนินงานจะต้องมีลักษณะที่ประหยัดและให้ผลประโยชน์ที่เหมาะสม  จึงจะถือว่าเป็นทางเลือกและการดำเนินงานที่ดี
     📒 การควบคุม (Control) เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการตรวจสอบและการประเมินผลการดำเนินงานของแผนว่าเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง  และมีการปรับปรุงหรือหาทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร  การควบคุมจะต้องเป็นไปทุกขั้นตอนทุกระยะการดำเนินงานและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
      💐สตรอบ  (Joseph T. Straub)  อธิบายถึงองค์ประกอบที่มีผลต่อความสำเร็จของแผน  โดยชี้ให้เห็นว่าองค์การทุกองค์การเมื่อกำหนดแผนงานขึ้นแล้ว  ต่างมุ่งหวังที่จะทำให้แผนงานนั้นบรรลุถึงความสำเร็จตามที่ปรารถนา  ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของแผนได้แก่การจัดทำแผนหรือร่างแผนไว้อย่างรอบคอบ  การชี้แจงแผนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  การปรับแผนให้ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการได้  การนำแผนไปใช้และการควบคุมการดำเนินงานของแผน  แต่ละปัจจัยหรือแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้
       📀 การจัดร่างทำงานแผน (Design)  หมายถึง  การจัดร่างแผนงานให้มีรายละเอียดที่สามารถดำเนินการได้โดยบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า   แผนงานนั้นเป็นแผนอะไร  ต้องการทำอะไร  ทำอย่างไร  ใครเป็นผู้รับผิดชอบที่จะต้องทำ  และแผนงานนั้นจะเริ่มทำเมื่อใดและที่ไหน
       📀 การชี้แจงแผน(Communication) เมื่อแผนได้รับกรจัดทำหรือร่างขี้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แผนนั้นจะต้องได้รับการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจโดยละเอียดการชี้แจงแผนให้เป็นที่เข้าใจย่อมทำให้แผนนั้นได้รับการยอมรับ  การสนับสนุนและง่ายต่อการปฏิบัติ
       📀 การปรับแผน  (Flexibility)   เมื่อแผนได้ถูกชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบแล้วหากปรากฏว่าเกิดการวิพากษ์วิจารณ์และผู้เกี่ยวข้องได้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่อง  หรือมีการท้วงติงเสนอแนะ  หรือคาดว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น  แผนนั้นจะต้องได้รับการปรับปรุงหรือให้มีการยืดหยุ่นในการนำไปใช้เพราะหากไม่ปรับแผนให้มีความยืดหยุ่นแล้ว  จะเป็นสาเหตุอย่างสำคัญทำให้แผนเกิดความล้มเหลว   อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานได้
       📀 การนำแผนไปใช้  (Implementation)  เมื่อแผนได้รับการปรับปรุงแล้ว  แผนก็จะถูกนำไปใช้ปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลตามที่ประสงค์อย่างไรก็ดีแผนจะบรรลุถึงความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ฝ่ายบริหารจะต้องให้การสนับสนุนทั้งกำลังคน   กำลังทรัพย์ และรวมถึงกำลังใจของผู้บริหารเองอย่างต่อเนื่อง
       📀 การควบคุมแผน  (Comtrol) เมื่อแผนนำไปใช้แล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามตรวจสอบและประเมินผลว่าการดำเนินงานตามแผนในแต่ละขั้นตอนมีปัญหาอุปสรรคใดๆหรือไม่หากพบปัญหาจากจุดหนึ่งจุดใดในกระบวนการปัญหานั้นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยทันท่วงที  รวมทั้งจะต้องรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนให้ดียิ่งขึ้น
   แนวคิดกระบวนการจัดการ
     💐แนวคิดกระบวนการจัดการ (process of management) เป็นกระบวนการที่ดำเนินตามแผนการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ขององค์กร


🎀แนวคิดของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol)

📙    การวางแผน (Planning) ศึกษาวางเป็นไปได้ของธุรกิจ และวางแผนเพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินธุรกิจ กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับแต่ละโครงการของบริษัท
📗  การจัดหน่วยงาน (Organizing) จัดหน่วยงานภายในองค์กรให้มีความเหมาะสมกับแผน สภาพเศรษฐกิจ การแข่งขัน
📘   การสั่งการบังคับบัญชา (Commanding) ผู้บริหารจะมอบหมายงานให่ผู้ปฏิบัติงานนำแผนการไปปฏิบัติ 
📙 การประสานงาน (Coordinating) หน่วยงานภายในองค์กรจะต้องคอยประสานงานกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น แผนกการเงินกับแผนกการตลาด ร่วมมือกันในออกวิเคราะห์การออมผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ




💊แนวคิดของเดมิง (วงจรเดมิง – Deming cycle) 
    💼    การวางแผน (Plan)
    💼      ปฏิบัติ (Do)
    💼   ตรวจสอบ (Check)
    💼  แก้ไขและปฏิบัติ (Action)



💎องค์กรอัจฉริยะ (learning organization) เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรบคคุล โดยผ่านการถ่ายทอยความรู้ การสื่อสารของบุคลากรในองค์กร 
✂1.    การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking)
✂2.  บุคคลผู้ชาญฉลาด (Personal mastery)
✂3.   รูปแบบความคิด (Mental model)
✂4.  การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building Shared Visions)
✂5.   เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Team Learning)

📢ขอขอบคุณ WWW.https://www.google.com/search?
📢สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 10การจัดการงานอาชีพ

การจัดการงานอาชีพ 🍉 การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรล...