การจัดการความเสี่ยง
💢การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) สำหรับองค์กร การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ
และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้บริหารที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรรออยู่ในอนาคตบ้าง
ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธุรกิจจะเผชิญปัญหาอะไรและจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด
ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงจึงหมายถึง
กระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยง
เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจใดๆในอันที่จะหาวิธีการที่ดีที่สุด
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนต่อการประสบกับเหตุการณ์ หรือ
สภาวะที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์โดยมีความน่าจะเป็น
หรือโอกาสในสิ่งนั้นมากกว่าศูนย์
☂การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คือ กระบวนการในการระบุ (Risk Identification) วิเคราะห์ (Risk
analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยง
(Risk Control) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม
หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด
อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
🌕นิยามของความเสี่ยง
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
- โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
- ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
- ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
- การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
- โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
- ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
- ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
- การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)
☂แนวทางในการบริหารความเสี่ยง
ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย
1.
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงของบริษัท (Objective)
และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่แต่ละองค์กรจะต้องสามารถวิเคราะห์
(Risk Analysis) และกำหนดให้ได้ว่าองค์กรหรือหน่วยงานใดในองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงใดบ้าง
(Risk Identification) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดและผลกระทบที่แตกต่างกัน
(Risk Estimation) โดยที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิด
(Likelihood) ตั้งแต่น้อยมาก (Rare) จนไปถึงมีความเป็นไปได้สูง
(Almost Certain) รวมถึงผลกระทบที่ตามมาจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
(Consequence) อาจมีตั้งแต่ระดับน้อยมาก (Insignificant)
ในขณะที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรอย่างมหาศาล
(Catastrophic) ดังนั้นบุคคลากรในธุรกิจจึงควรที่จะวิเคราะห์และกำหนดความเสี่ยงที่ธุรกิจนั้นเผชิญให้ได้
ยกตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโอกาสของการเกิดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ใดๆและผลกระทบของความเสี่ยงต่อด้านต่างๆ
ขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ ด้านการเงิน (Financial) ชื่อเสียง (Reputation) การหยุดชะงักขององค์กร (Business Interruption) และบุคลากร
(Human) เป็นต้น
☂ความน่าจะเป็นหรือโอกาสในการเกิดความเสี่ยง
(Likelihood)
ความน่าจะเป็นนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรณ์ในการกำหนดว่าโอกาสของการเกิดเหตุการณ์นั้นๆต้องมีมากน้อยขนาดไหนถึงจะจัดว่ามีโอกาสนอ้ยหรือมาก
☂ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยง
(Consequence)
ผลกระทบหรือความเสียหายต่อองค์กรที่เกิดจากความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ
ได้แก่
1.ความเสียหายด้านทรัพย์สินหรือตัวเงิน
(Financial)
2.ความเสียหายด้านชื่อเสียงขององค์กร
(Reputation)
3.ความเสียหายด้านการหยุดชะงักของการดำเนินการขององค์กร
(Business Interuption)
4.ความเสียหายด้านบุคลากร (Human)
การประเมินผลกระทบของความเสียหายอาจแบ่งเป็นระดับได้ดังนี้
Consequence or Impact is measured using the
following scale
1.Insignificant
2.Small
4.Large
5.Catastrophic
ความรุนแรงของเสียหายแต่ละระดับ
ขึ้นอยู่กับองค์กรจะระบุว่าความเสียหายแต่ละระดับอยู่ที่เหตุการณ์แบบไหนหรือมีมูลค่าเท่าไหร่
หลังจากที่มีการประเมินความน่าจะเป็นหรือโอกาสในการเกิดของความเสี่ยงแต่ละหัวข้อ
รวมถึงการประมาณการความเสียหายจากความเสี่ยงนั้นๆแล้ว
ก็จะนำเอาทั้งสองกรณีมาพิจารณา
โดยใช้ตารางประเมินความเสี่ยง
(Risk Matrix) เพื่อประเมินว่าความเสี่ยงใดที่ให้ความสำคัญในการบริการจัดการ (Risk
Prioritization)
รวมถึงหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม
☁Legend for Risk Ratings
💚E-Extreme Risk ความเสี่ยงระดับสูงสุด ต้องมีแผนการจัดการที่แน่นอนไว้รองรับ
💚H-High Risk ความเสี่ยงระดับสูง ต้องมีการเตรียมการเตรียมแผนการจัดการไว้รองรับ
💚M-Moderate Risk ความเสี่ยงระดับกลาง ควรติดตามความเสี่ยงเป็นระยะ เพื่อวางแผนการจัดการ
💚L-Low Risk ความเสี่ยงระดับต่ำ อาจยอมรับความเสี่ยงไว้ได้
หรือคอยติดตามระบุระดับความเสี่ยงเป็นระยะ
เพราะความเสี่ยงระดับต่ำอาจเพิ่มระดับความรุนแรงกลายเป็นความเสี่ยงระดับกลางหรือสูงได้
การประเมินความเสี่ยงดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงแต่ละเรื่อง
และเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (Prioritization) ที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นลำดับ
รวมไปถึงใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ
2.1 การลดความเสี่ยง (Risk
Reduction) ความเสี่ยงที่ได้รับอาจลดลงได้
ด้วยวิธีการหาทางป้องกันเพื่อมิให้มีความเสียหายเกิดขึ้น
การลดความเสี่ยงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดจำนวนครั้งของความเสียหายลง
หรือลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การวิเคราะห์อาจอาศัยข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน
ซึ่งรวมถึงข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตประกอบการตัดสินใจ
2.2 การรับความเสี่ยงไว้เอง (Risk Retention) คือการที่ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ
ยินยอมที่จะรับภาระความเสี่ยงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไว้เอง
เนื่องจากเล็งเห็นว่าโอกาส
หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหายอยู่ในวิสัยที่การทำธุรกิจนั้นยอมรับได้
2.3. การโอนความเสี่ยง (Risk
Transfer) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่ธุรกิจจะต้องวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะเลือกโอนความเสี่ยงออกไปในรูปแบบใด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจนั้นๆ เช่น
การโอนความเสี่ยงไปให้บุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทประกันโดยสัญญา
หรือการโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยตามรูปแบบและเงื่อนไขที่ธุรกิจต้องการ
2.4. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk
Aviodance) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจกระทำได้โดยวิธีการง่ายๆโดยที่ธุรกิจไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้น่าจะเป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจใช้วิธีการอื่นเข้ามาแก้ไขได้เท่านั้น
การตัดสินใจในวิธีการนี้ธุรกิจต้องเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจ
3.
การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
💓การตัดสินใจคัดเลือกวิธีการบริหารความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึง
• ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากเลือกวิธีการดังกล่าว
และการเตรียมแนวทางแก้ไข
• ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการจัดการตามวิธีการที่คัดเลือกมีจำนวนมากน้อยเพียงใด
• ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจที่อาจได้รับจากการตัดสินใจเลือกวิธีการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม
ภายหลังจากที่ได้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ในการจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีใดแล้ว
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ
มาตรการที่ได้เลือกใช้นั้นมีความเหมาะสมกับภาวะแวดล้อมในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจต่อไป
4. รายงานความเสี่ยงที่เหลือ (Residual
Risk Reporting)
เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่ระบุไว้แล้ว
ก็จะทำการรวบรวมความเสี่ยงที่ยังคงเหลือไปนำเสนอผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
5. ติดตามผล และประเมินผล (Monitoring and Evaluation)
เมื่อการดำเนินงานในขั้นต่าง
ๆ ได้ดำเนินงานผ่านพ้นไป ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตามผลที่ได้กระทำไป
อย่างไรก็ตามแม้จะมีการการจัดการกับความเสี่ยงที่ถูกระบุไว้เป็นอย่างดีเรียบร้อยแล้ว องค์กรไม่ควรอยู่นิ่งหรือหยุดกิจกรรมการจัดการความเสี่ยง
เพราะความจริงแล้วความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นทุกๆองค์ควรมีกิจกรรมในการประเมินความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรตลอดเวลา
เพื่อหาทางรับมือและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที
สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2561
ขอขอบคุณ www.https://gotoknow.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น